ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันก็คือนิสัยหรือบุคลิกลักษณะเฉพาะบุคคลที่อาจเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้
ปัจจัยเสี่ยงที่จักกันดีก็คือ การที่มีไขมันชนิดไม่ดี คือ โคเลสเตอรอลชนิด
LDL มากเกินไปในหลอดเลือด ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่สำคัญคือ
การสูบบุหรี่ ดื่มอัลกอฮอล์ การใช้ยาคุมกำเนิด การมีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน
โรคเบาหวาน ไตรกลีเซอไรด์สูง ความเครียดในครอบครัว ในที่ทำงาน
ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดโรคนี้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้
เราพบปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญตัวใหม่ นั่นคือ ภาวะที่มีการอักเสบเกิดขึ้นภายในร่างกาย
โดยเฉพาะการอักเสบในหลอดเลือด ซึ่งกระตุ้นโดยอนุมูลอิสระ
และโลหะหนักที่ตกค้างอยู่ภายในร่างกาย ปัจจุบันนี้
สิ่งที่พยากรณ์ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีที่สุด
มีค่าความเสี่ยงสัมพันธ์ (relative risk) สูงสุดคือการตรวจเลือดเพื่อหาค่าที่บ่งชี้ภาวะการอักเสบในร่างกาย
hs-CRP ร่วมกับอัตราส่วนระหว่าง ไขมัน โคเลสเตอรอลตัวดี HDL
กับไขมัน โคเลสเตอรอลตัวร้าย LDL
ปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็นสองประเภท
คือ
1.ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และสามารถปรับเปลี่ยนได้
2.ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
http://www.thaifamilylink.net/web/node/5 |
ประวัติในครอบครัว หากมีประวัติของพ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย หรือพี่น้องเป็นโรคหัวใจ ท่านก็มีโอกาสมากที่จะหัวใจวาย รูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันก็อาจจัดอยู่ในปัจจัยนี้เช่นเดียวกับเรื่องพันธุกรรม
www.panomhealth.com |
อายุ 55 ปีขึ้นไป โรคหลอดเลือดหัวใจมีความเกี่ยวเนื่องกับอายุที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าไรก็มีโอกาสเกิดไขมันในผนังหลอดเลือดมากขึ้นเท่านั้น
http://cxgroup1.blogspot.com/ |
เพศ จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า โรคหลอดเลือดหัวใจพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเพศหญิงตัวหนึ่งที่ช่วยควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับพอดี ซึ่งผู้หญิงในวัยหลังหมดประจำเดือนก็มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นด้วย
- การสูบบุหรี่
การ
สูบบุหรี่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด
หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง
คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงต่อหัวใจวายมากกว่าสองเท่า
และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหันคิดป็นสองถึงสี่เท่าของคนไม่
สูบบุหรี่
นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเป็นอันตรายต่อสมาชิกในครอบครัวด้วย
สารนิโคตินในบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น
คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่จะเกาะติดกับฮีโมโกลบินในเลือดได้ง่ายกว่า
ออกซิเจน
ดังนั้นหัวใจอาจจะไม่ได้รับออกซิเจนพอกับความต้องการ
นอกจากนี้สารเคมีเหล่านี้ก็อาจจะทำความเสียหายให้กับผนังหลอดเลือดด้วย
เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรสูบบุหรี่
Healthcarethai.com |
- ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงสามารถกระตุ้นให้กระบวนการของการสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือดเกิดได้เร็วขึ้น
และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
เนื่องจากต้องสูบฉีดโลหิตแรงขึ้นเพื่อจะส่งไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย
หัวใจล้มเหลว หรือภาวะสมองขาดเลือด
ท่านสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
รู้จักผ่อนคลายและหาวิธีจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น
http://healthydeedee.com |
- โคเลสเตอรอลสูง
โคเลสเตอรอลคือไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราสามารถผลิตขึ้นและพบในอาหารบางชนิด
เมื่อเริ่มมีภาวะของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้น
พบว่าโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบหลักของไขมันที่พบและมีการสะสมในหลอดเลือดหัวใจ
ยิ่งมีระดับโคเลสโตรอลในเลือดสูงมากเท่าไหร่
ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการพัฒนาและเติมโตของโรคมากขึ้นเท่านั้น
เพื่อรักษาระดับการรักษาระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้เป็นปกติ
จึงจำเป็นที่จะต้องวางแผนการรับประทานอาหารโดยเลือกแต่อาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำเท่านั้น
Natureshop.in.th |
- เบาหวาน
โรคเบาหวานคือความผิดปกติที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
สาเหตุเกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ (ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ช่วยนำน้ำตาลออกจากเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ
ในร่างกาย) หรืออาจเกิดจากร่างกายต่อต้านอินซูลินที่มีอยู่
การมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจเป็นสาเหตุของการทำลายผนังภายในของหลอดเลือด
และยังกระตุ้นให้มีคราบสะสมเกาะภายในผนังหลอดเลือดอีกด้วย
kapook.com |
- ไลฟ์สไตล์แบบนั่งอยู่กับที่
การไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
การออกกำลังกายเป็นประจำมีประโยชน์สุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก เช่น
ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล ควบคุมน้ำหนักตัว และยังช่วยลดความเครียดของท่านได้อีกด้วย
ถ้าโดยปกติท่านไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ประมาณสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งเป็นอย่างน้อย) อีกทั้งรูปแบบการทำงานส่วนใหญ่จะนั่งอยู่กับโต๊ะ
ไม่ค่อยต้องเคลื่อนไหวร่างกาย แสดงว่าคุณมีไลฟสไตล์แบบนั่งอยู่กับที่
- อาหาร
อาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำ
ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคืออาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์
อาหารฟาสต์ฟู้ด เนย และผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่พร่องไขมัน
thebeutynerds.net |
- ความเครียด
ความเครียดในเชิงลบจะมีผลต่อสุขภาพร่างกายในหลายๆ
ด้าน ตั้งแต่หัวใจวายไปจนถึงปวดศีรษะจากความตึงเครียด
พยายามเรียนรู้ที่จะตระหนักถึงการตอบสนองต่อความเครียดของตัวเอง
รวมถึงคาดการณ์สถานการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นความเครียดให้ได้
ก็จะสามารถช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดความเครียดได้
- ความอ้วน
ถ้าอ้วนหรือน้ำหนักตัวมากเกินไป
หัวใจของท่านต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งโลหิต ออกซิเจน และสารอาหารต่างๆ
ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย หากเทียบการทำกิจกรรมประเภทเดียวกัน
หัวใจของคนที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำงานหนักมากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ
การลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหารสามารถช่วยให้เราควบคุมความเสี่ยงต่อโรคอื่นได้อีกด้วย
http://kanchanapisek.or.th |
- การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นเวลานานจะมีส่วนทำให้ปริมาณไขมัน
(ไตรกลีเซอไรด์) ในเลือดมีระดับสูง และอาจจะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจของท่านด้วย
จึงเป็นการลดสมรรถภาพของหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
ที่มา : https://www.bumrungrad.com/th/heart-cardiology-center-treatment-surgery-bangkok-
thailand/conditions/heart-diseases
http://haamor.com/th/
http://www.absolute-health.org/thai/article-th-025.htm
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น